Responsible-consumption-and-production

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

โครงการเปลี่ยนขยะอาหารให้เป็นน้ำหมักชีวภาพ

ที่มาและความสำคัญ :

ลดปริมาณขยะเน่าเสียแก่สิ่งแวดล้อมโดยการบริหารจัดการขยะอาหารให้เกิดประโยชน์ 

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

เริ่มโครงการปี 2559

สถานที่จัดโครงการ :

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

บุคลากรและนักศึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ :

ลดปริมาณขยะ เกิดเป็นห่วงโซ่อาหาร และลดก๊าซเรือนกระจก 

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

ขยะอาหารในสถาบันจะถูกนำมาหมักตามกระบวนการย่อยโดยจุลินทรีย์ ได้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคลากรและนักศึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

200 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

1. น้ำหมักชีวภาพสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ทางการเกษตร ล้างท่อ ล้างห้องน้ำ ฯลฯ

2. เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานของบุคลากรและนักศึกษา จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:-
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :13

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

ปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพและพัฒนาระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPRel

ที่มาและความสำคัญ :

การดำเนินการให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการ เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่สถาบันให้ความสำคัญ ซึ่งรวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินส่วนรวม ตลอดจนการดำเนินการตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ของสถาบันฯ ด้านการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการนั้น จะดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการได้อย่างมีคุณภาพนั้น ควรมีมาตรฐานกำกับในด้านการใช้ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPRel เป็นมาตรฐานที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ให้การยอมรับ และ มีนโยบายให้ห้องปฏิบัติการในโครงการวิจัยที่จะขอทุนวิจัยต้องได้รับมาตรฐานนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผลักดันให้ห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับมาตรฐาน ESPRel  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพ และการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ เพื่อให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน ESPRel

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566

สถานที่จัดโครงการ :

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

บุคลากรและนักศึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ :

1) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของห้องปฏิบัติการให้เหมาะสมและปลอดภัย

2) เพื่อบริหารจัดการห้องปฏิบัติการให้เกิดความปลอดภัยอย่างยั่งยืน

3) เพื่อให้การใช้ การจัดเก็บ และการกำจัดสารเคมี มีความถูกต้องและปลอดภัย ต่อผู้ใช้ห้องปฏิบัติการ บุคลากร นักศึกษา และสิ่งแวดล้อม

4) เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการสถาบันโภชนาการ สู่มาตรฐาน ESPRel

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

1. ประชุม อบรมหลักเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆของมาตรฐาน ESPRel

2. ตรวจคุณภาพภายใน (internal audit) โดยการทำ ESPRel Checklist และสำรวจสภาพทางกายภาพห้องปฏิบัติการ         

3. ปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัย

4. สร้างระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการให้เกิดความปลอดภัย อย่างยั่งยืน  

5. บริหารจัดการการใช้ จัดเก็บ และกำจัดสารเคมี ให้ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย      

6. รับการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ESPRel

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคลากรและนักศึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

-

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

1) เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการ บุคลากร นักศึกษา และทรัพย์สินของสถาบันและมหาวิทยาลัยมหิดล

2)  สถาบันได้รับความเชื่อมั่นจากแหล่งทุนวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) และจากมหาวิทยาลัยมหิดล

3) สนับสนุนส่งเสริมชื่อเสียงของสถาบัน ด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

สำนักงานสีเขียว

ที่มาและความสำคัญ :

หลักสำคัญของสำนักงานสีเขียว คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงานเพื่อลดการใช้พลังงาน เน้นกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซํ้า การนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดการใช้ทรัพยากร ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยโครงการศึกษาสำนักงานสีเขียว (Green Office) ส่งเสริมศักยภาพการจัดการทรัพยากร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีน่าอยู่ อันจะทำให้เกิดลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

สถานที่จัดโครงการ :

สถาบันโภชนาการ 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

บุคลากรสถาบันโภชนาการ

วัตถุประสงค์ :

1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

2) เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยด้านชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3) เพื่อผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4) เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และลดภาวะโลกร้อน

5) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาของสถาบันได้นําความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) ไปประยุกต์ใช้

6) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันมีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

1. ดูงานด้านพลังงานทดแทน

2. ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ (เจ้าหน้าที่จากวัดไร่ขิง อ. สามพราน)

3. อบรมความปลอดภัยในการใช้งานห้องปฏิบัติการ

4. อบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5. กิจกรรม Big Cleaning Day และ 5 ส.

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคลากรและนักศึกษาสถาบันโภชนาการ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

-

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

1) ลดค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากการใช้ทรัพยากร พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

2) มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษาในสถาบันฯ

3) ยกระดับมาตรฐานสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

4) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ความสิ้นเปลืองทรัพยากร และพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปของประเทศ และสร้างความยั่งยืนในด้านพลังงานและทรัพยากรเป็นไปตามนโยบายของสถาบันฯ/มหาวิทยาลัย/รัฐบาล โดยใช้การมีส่วนร่วมของบุคลากร นักศึกษา และลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการที่สถาบันฯ

5). สร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษาและลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการที่สถาบันฯ ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทั้งการลดใช้พลังงาน การลดปริมาณขยะของเสีย

6) ลดต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมที่เกิดจากการใช้พลังงานและทรัพยากรในกาดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันฯ

7) สร้างความยั่งยืนในด้านการอนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและสถาบันโภชนาการ

8) ลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากการใช้พลังงานสิ้นเปลืองและการทิ้งขยะจาการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ต่อเนื่อง

9) บุคลากรและนักศึกษามีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการประหยัดพลังงาน และลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:https://www.facebook.com/INMUMahidol/photos/a.770345643063297/4471246032973221/
https://inmu2.mahidol.ac.th/INMUGreen/policy.html/


รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :เป้าหมายที่ 6 การรับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 7 การรับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย