รองศาสตราจารย์ ดร.ทพญ. ดุลยพร ตราชูธรรม
Ph.D. (Biomedical Sciences)
อ่านประวัติและผลงานวิจัยคลิกที่นี่
dunyaporn.tra@mahidol.ac.th
ขอบเขตวิทยานิพนธ์ที่เป็นที่ปรึกษาได้
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอาหาร หรือวิธีการปรุงประกอบอาหาร ที่ช่วยลดสารก่อมะเร็งหรือส่งเสริมการกำจัดสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย และลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในกลุ่มเสี่ยง เช่น คนดื่มแอลกอฮอล์ คนสูบบุหรี่ คนที่ชอบรับประทานเนื้อสัตว์ และนวัตกรรมอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเพื่อลดความเสี่ยงต่อการลุกลามของโรคมะเร็งและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเมตาโบไลท์หลังรับประทานอาหาร (Nutri-Metabolomics) โครงการที่ศึกษาครอบคลุมงานวิจัยในอาหาร เซลล์ สัตว์ทดลองและในคน วิธีการศึกษาครอบคลุม เทคนิคขั้นสูงทางเคมีวิเคราะห์ได้แก่ LC-MS/MS, GC-HRMS, และ HPLC การทดลองใน cell culture ทั้งแบบ monolayer และ 3-D culture โดยใช้เทคนิคทางพิษวิทยาเซลล์ biochemical and molecular technique การวิจัยในสัตว์ทดลองด้วย xenograft model of cancer และ animal toxicity testing ตาม OECD guideline การทดสอบความปลอดภัยของอาหารใหม่ (Novel food) ในคน การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) และชีวประสิทธิผล (bioavailability) ตลอดจนการทดลองทางคลินิก (Clinical trials) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (dietary supplement) อาหารสุขภาพ (functional food) และอาหารทางการแพทย์ (medical food) ในคนสุขภาพดี และผู้ป่วยมะเร็ง โดย functional ingredients ที่ถนัดได้แก่ พฤกษเคมีจากผักตระกูลกะหล่ำ (isothiocyanates from cruciferous vegetables) พฤกษเคมีจากเปลือกผลไม้รสเปรี้ยว (citrus fruit) โพรไบโอติกส์ (probiotics) กรดอะมิโน (amino acids) และกรดไขมันโอเมก้า- 3 (Omega-3 fatty acids)
ขอบเขตสารนิพนธ์ที่เป็นที่ปรึกษาได้
การวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยก่อนหน้าเพื่อหาความเสี่ยงของโลหะหนักต่อการก่อโรคมะเร็ง การวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยก่อนหน้าเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารอาหารรองในสารคัดหลั่ง เช่นเลือด หรือน้ำลาย และความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาณ (systemic review and meta-analysis) ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง การสำรวจนำร่องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ ผู้นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ และผู้นิยมบริโภคอาหารรสจัด เพื่อนำไปค้นหาปัจจัยที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในคนกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้
ผลงานเด่น
นวัตกรรม “เจลลี่โภชนา” และ “เจลลี่โภชนาผสมสารพีอีไอทีซี” สำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก และผู้มีปัญหาการเคี้ยวและกลืนอาหาร
นวัตกรรม “วุ้นชุ่มปาก (OMJ) สำหรับผู้มีปัญหาปากแห้งน้ำลายน้อย
นวัตกรรม “ซอสซ่อนผัก” เพื่อเป็นทางเลือกการบริโภคผักและลดสารก่อมะเร็ง
นวัตกรรม “นมเปรี้ยวลดสารก่อมะเร็งจากการดื่มแอลกอฮอล์”
ผลงานตีพิมพ์วารสารวิชาการ กว่า 40 รายการ โดยมีการอ้างอิง รวมกันกว่า 7,000 ครั้ง
ผลงานวิจัยขึ้นปกหลัง วารสาร Food & Function
ผลงานวิจัยขึ้นปกหน้า วารสาร Cancer Cell
บทความปริทรรศน์ ลงวารสาร Nature Review Drug Discovery
Book chapter ในหนังสือ Functional food and cancer
Book chapter ในหนังสือ Arsenic contamination in water
หนังสือจากสำนักพิมพ์อมรินทร์