ไนเตรต ไนไตรต์ พิษภัยในเนื้อสัตว์
เกลือไนเตรตและไนไตรต์ เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่นิยมใช้กันมากในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเจริญของแบคทีเรียและช่วยในการตรึงสีให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มีสีชมพู หรือ แดงสด น่ารับประทาน เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไนเตรต แบคทีเรียในปากและกระเพาะอาหารสามารถเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรต์ได้ นอกจากนี้การเก็บอาหารในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนไนเตรตไปเป็นไนไตรต์ได้เช่นกัน ซึ่งไนไตรต์สามารถทำปฏิกิริยากับฮีโมโกลบิน ทำให้ฮีโมโกลบินไม่สามารถจับกับออกซิเจน เกิดสภาวะการขาดออกซิเจน ผู้บริโภคที่รับประทานอาหารที่มีไนเตรต หรือ ไนไตรต์สูง จะมีอาการไม่สบายเนื่องจากขาดออกซิเจนอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจหอบถี่ ปวดศีรษะ หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ตัวเขียว เป็นต้น หากผู้ผลิตอาหารมีการใช้สารไนเตรต หรือ ไนไตรต์ในปริมาณที่สูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือ ใช้ในอาหารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ เช่น เนื้อสัตว์สด หมูเด้ง ปลาหวาน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ปัจจุบันประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้สารไนเตรตเป็นวัตถุเจือปนอาหาร แต่อนุญาตให้ใช้สารไนไตรต์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปบางชนิด ได้แก่ […]
ความรู้เรื่อง Vitamin C & Coronavirus (COVID-19)
1. วิตามินซี คือ อะไร พบได้ในอาหารประเภทใด? คำตอบ : – วิตามินซี เป็นหนึ่งในสารอาหารรอง (micronutrient) ที่จำเป็นต่อร่างกาย จัดเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายขาดไม่ได้ – แหล่งของวิตามินซี คือ ผักผลไม้ต่างๆ พบในปริมาณที่แตกต่างกันไป ในผักที่พบมาก เช่น มะนาว ยอดใบมะขาม ผักรสเปรี้ยวต่างๆ ส่วนผลไม้ เช่น พวกส้มต่างๆ พวกเบอร์รี่ต่างๆ แอปเปิ้ล มะขามป้อม รวมถึงผลไม้รสเปรี้ยวต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่า ฝรั่ง แม้จะไม่ใช่กลุ่มผลไม้ที่ให้รสเปรี้ยว แต่มีวิตามินซีสูง เช่นกัน 2. วิตามินซี ทำหน้าที่อะไรในร่างกายมนุษย์? คำตอบ : ช่วยป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเกิดเพราะขาดวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายทั้งในระบบเลือดและในเซลล์ ช่วยกระตุ้นและเพิ่มเซลล์ภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีขึ้น เมื่อร่างกายมีการติดเชื้อ (โดยเฉพาะกลุ่ม natural killer cells (NK cells) ซึ่งเป็นลิมโฟไซต์ชนิดหนึ่ง) […]