รายการสอนทำอาหารให้ปลอดภัย You are what you cook
รายการสอนทำอาหารรูปแบบใหม่ ที่นอกจากจะนำเสนอเมนูรังสรรค์โดยเชฟมือรางวัล ซึ่งเป็นนักศึกษาของหลักสูตรแล้ว ยังมีการสอดแทรกความรู้ในการเลือกวัตถุดิบอาหาร และการเตรียมอาหารให้ปลอดภัย ลดอันตรายในอาหาร ลดสารก่อมะเร็งหรือสารพิษจากอาหารอีกด้วย ออกอากาศทาง Facebook เพจ พิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย (facebook@inmutox) ดำเนินรายการโดย นายภัคพงศ์ รักเนตรสาคร นักศึกษาปริญญาโทของหลักสูตรฯ และนักกำหนดอาหาร วิทยากร โดย เชฟอ๊ะ – อภิสิทธิ์ จิตประสงค์ นักศึกษาปริญญาโทของหลักสูตรฯ และเชฟมืออาชีพเจ้าของรางวัลมากมาย วิทยากรความรู้ โดย อาจารย์เป็ด – ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารปลอดภัย ตอนที่ 1: ผัก รับชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/cZNnv8IcHQ/ ตอนที่ 2: เนื้อสัตว์ รับชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/cZNq0pSQ5T/
อบรมการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยตีพิมพ์วารสาร (Manuscript preparation)
วัตถุประสงค์: เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนของนักศึกษาและเพิ่มพูนเทคนิคการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยเพื่การตีพิมพ์ ซึ่งเป็นข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยในการจบการศึกษาปริญญาโท
กำหนดการขอสำเร็จการศึกษาและรับปริญญาปีการศึกษา 2563-2564
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล แจ้งดังนี้ กำหนดการขอสำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2564 ** นักศึกษายื่น บฑ 5 ในระบบ Online Thesis Advisor System พร้อมผลงานตีพิมพ์ และวิทยานิพนธ์ที่ส่งเล่มแล้ว ภายใน วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 กำหนดการขึ้นทะเบียนรับปริญญา มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563-2564 ปีการศึกษา 2563 วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 ปีการศึกษา 2564 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2565
ข้อมูลหลักสูตรฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2565
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม) สาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ภาคปกติ และภาคพิเศษ มคอ 2. ของหลักสูตร ดาวน์โหลดได้ที่ TQF2 INMUTOX 2022 ดาวน์โหลดโบรชัวร์หลักสูตรได้ที่ โบรชัวร์หลักสูตร 6 slide Infographics จบอะไรมาจึงเรียนต่อได้ เรียนจบแล้วประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร “ความปลอดภัยอาหารจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภค” ภาคปกติ VS ภาคพิเศษ เหตุผลที่เลือกเรียนสาขานี้ บทบาทของนักพิษวิทยากับการพัฒนาอาหารสุขภาพ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ของหลักสูตร
แผนการศึกษา สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป
ดูรายละเอียดวิชาต่างๆ ได้ ที่ http://www.inmu2.mahidol.ac.th/foodsafety/?page_id=137584
กิจกรรม TALKS ABOUT TOX
กิจกรรม Talks about tox เป็นการรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์/ สารนิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตร แก่คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และเปิดให้ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ตลอดจนนักศึกษาในหลักสูตรเข้าร่วมฟัง และให้ความคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆ เป็นเวทีให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการสื่อสารด้วยการนำเสนองานวิจัยในที่ประชุมและรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเพื่อการนำเสนอได้ ทั้งนี้กำหนดจัดกิจกรรม Talks about tox ประจำปี มีดังนี้ ภาคการศึกษาที่ 1: ในเดือนตุลาคม ของทุกปี ภาคการศึกษาที่ 2: ในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี กติกาการนำเสนอ กรณีนำเสนอเป็นครั้งแรก ให้นำเสนอ proposal พร้อมบอกกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ โดยใช้ตาราง timeline ใน proposal ภายในเวลา 15 นาที กรณีเคยนำเสนอแล้ว มีหัวข้อนำเสนอ ภายในเวลา 15 นาที ดังนี้ – Introduction + objective + ผลการวิจัยที่เคยนำเสนอในกิจกรรม Talks about […]
กิจกรรม Soft skills ของหลักสูตร
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดว่า นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรม soft skills อย่างน้อย 4 ด้าน ก่อนจบการศึกษา โดย มีกิจกรรมให้เลือกได้ทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ Health Literacy skill Entrepreneurial Literacy skill Communication and language skills Creative and innovative skills Digital Literacy skills Leadership and Management skills หลักสูตรได้จัดกิจกรรม Soft skills ด้านต่างๆ ตามนโยบายของบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีกิจกรรมที่ได้รับการอนุมัติให้ขอเทียบเคียงตามเกณฑ์จบการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยได้ ดังนี้ กิจกรรม soft skills ด้าน Entrepreneurial Literacy skill: กิจกรรม “Start-up จากจุดเริ่มต้นจนเติบโตอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วย การเสวนาโดยมีวิทยากรเป็น ผู้ประกอบการ กิจการ […]
เกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษและการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษของบัณฑิตวิทยาลัย (GRID COURSES)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาดังนี้ ทั้งนี้นักศึกษาที่ยังไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์จบการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย สามารลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เทียบเคียงกับคะแนนภาษาอังกฤษได้ ดังนี้ โดย นักศึกษาสามารถดูกำหนดการเปิดสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ (รหัสวิชา GRID) ได้ที่ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/current-students/?g=6&t=4
แนวทางการติดตามความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์/ สารนิพนธ์ของนักศึกษา
ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เดือนเมษายน 2565 กำหนดแนวทางติดตามความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์/ สารนิพนธ์ของนักศึกษา ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป ดังนี้
“Start-up จากจุดเริ่มต้นสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
กิจกรรม soft skill ด้าน Entrepreneurial Literacy skill จัดโดย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ผ่านการรับรองให้เทียบเคึยงกิจกรรมโดยบัณฑิตวิทยาลัย